จริง ๆ แล้ว Wordpress ที่เป็น CMS มีเวอร์ชั่นภาษาไทยให้เราติดตั้งอยู่แล้ว เมื่อเราติดตั้ง Wordpress เวอร์ชั่นภาษาไทย ก็ไม่จำเป็นต้องหาสคริปต์ภาษาไทยเพิ่มเติม มันเป็นไทยแล้วไง...แล้วทำไมล่ะ? ต้องมีบทความนี้ด้วย???
ที่มาที่ไปของบทความนี้...ผมไปติดตั้ง Wordpress ที่เป็นภาษาอังกฤษไง มันก็ไม่มีภาษาไทยให้เราเลือก เลยต้องหาสคริปต์ภาษาไทยมาติดตั้งเพิ่มเติมอาครับ และแล้วบทความนี้ก็เกิดขึ้น ใครที่เป็นกรณีเช่นผม อ่านน่ะครับ แล้วเราจะได้ใช้ภาษาไทยเรา จะได้ใช้ Wordpress ได้อย่างสะดวก
จากกรณีนี้ http://www.hackit4fun.com/2014/01/wordpress-xampp.html
ขอเล่าตามขั้นตอนน่ะครับ ลุยกันเลย
ขั้นตอนที่หนึ่ง ดาวน์โหลดเวิร์ดเพรสภาษาไทยจากลิงค์ http://th.wordpress.org
![]() |
รูปที่ 2 ดาวน์โหลด wordpress ภาษาไทย |
ขั้นตอนที่สอง เมื่อดาวน์โหลเสร็จแล้ว แตกไฟล์ให้เรียบร้อย (แตกเองน่ะ ผมไม่ต้องอธิบายแล้วน่ะ ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ก็เม้นด่านล่าง เดียวผมจะมาตอบ)
![]() |
รูปที่ 3 แสดงโฟลเดอร์ wordpress ที่แตกไฟล์เรียบร้อยแล้ว |
ขั้นตอนที่สาม คัดลอกโฟลเดอร์ languages ที่อยู่ใน ...\wordpress\wp-content (จากไฟล์ที่เราดาวน์โหลด) ไปวางไว้ในโฟลเดอร์ wp-content ในโฮสต์
![]() |
รูปที่ 4 แสดงการคัดลอกโฟลเดอร์ language |
ขั้นตอนที่สี่ ไปที่รูทที่ติดตั้ง Wordpress ในโฮสต์ แล้วเปิดไฟล์ wp-config.php (เปิดด้วยโน็ตแพด หรือText editer อื่นๆ) ดูตรงคำว่า define('WPLANG', ''); ให้เปลี่ยนเป็น define('WPLANG', 'th'); แล้วบันทึกไฟล์
![]() |
รูปที่ 5 แก้ไขไฟล์ wp-config.php |
จากนั้นลองไปรีเฟรสหน้าเดชบอร์ด หรือหน้าแรกของเว็บ เราก็จะได้ภาษาไทยเป็นที่เรียบร้อย ก็เสร็จสิ้นการเปลี่ยนเป็นภาษาไทยใน Wordpress แล้วน่ะครับ ที่นี่ เราก็ใช้ Wordpress ได้สะดวกขึ้นแล้วใช่มั่ยล่ะ
แสดงความคิดเห็น